
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาครัฐบาล และ ภาคีสมาชิกอาเซียน ได้เดินหน้าทำการหารือเพื่อมุ่งมั่นที่จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034 โดยจะมีการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมกัน แน่นอนว่าการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก แม้ว่าจะมีหลายชาติจับมือกันในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแต่งบประมาณระดับมหาศาลบานบุรีที่จะเทลงไปด้วยงบประมาณของชาติก็เป็นอีกจุดที่หลายๆฝ่ายต้องตระหนักไตร่ตรองว่ามีอะไรที่เป็นผลดีและมีอะไรที่เป็นผลเสีย
หลายชาติในอาเซียนกลัวตกรถในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพหนนี้ แต่ยังไม่มองปัญหาร่วมที่จะเกิดขึ้นที่หลายชาติเคยรับหน้าเสื่อจัดการแข่งขันก่อนหน้านี้ก็มีวิกฤตปัญหาตามมาเช่นกัน เจ้าภาพฟุตบอลโลกจะครอบคลุมทั้งหมดไม่ใช่แค่เรื่องของสนามแข่งขัน,ระบบขนส่ง,โรงแรมที่พักฯ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ฟีฟ่ากำหนด การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่งบประมาณของเจ้าภาพที่จะต้องใช้ในช่วงหลังพุ่งเข้าไปที่ระดับหลักแสนล้าน หากตัดเรื่องทีเอ่ยมาทั้งหมดแล้วย่อภาพมาแค่เรื่องของสนามจัดการแข่งขัน ถ้าส่องดูสนามขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีจำนวนไม่มาก โดยส่วนใหญ่จะไปอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งขนาดของสนามที่ต้องการความจุขนาดใหญ่แล้ว รายละเอียดของสนามก็ต้องเนี๊ยบ! ตามมาด้วยเช่นกัน นี่คือสนามกีฬาขนาดใหญ่ในอาเซียนที่มีอยู่ ณ เวลานี้ ถ้าจะเป็นเจ้าภาพกันจริงๆคงต้องมีการทุ่มทุนสร้างสนามใหม่และปรับปรุงยกระดับกันแบบยกเครื่อง
อินโดนีเซีย
กีโลรา บุงกาโน(เสนายัน) 77,193 ที่นั่ง
จากาตาร์ เนชั่นแนล สเตเดี้ยม 82,000 ที่นั่ง
*** หมายเหตุ *** อินโดนีเซีย ยังสนามความจุเกิน 40,000 ที่นั่งอีก 9 สนาม
มาเลเซีย
บูกิต รีล 87,411 ที่นั่ง
ซาลัมห์ 80,372 ที่นั่ง
สุลต่าน อิบราฮิม 40,000 ที่นั่ง
*** หมายเหตุ *** มาเลเซียยังมีสนามความจุเกิน 40,000 ที่นั่งอีก 6 สนาม กัมพูชา
มรดก เตโช 75,000 ที่นั่ง
ไทย
ราชมังคลากีฬาสถาน 51,552 ที่นั่ง
ติณสูลานนท์(สงขลา) 45,000 ที่นั่ง
สิงคโปร์
เนชั่นแนล สเตเดี้ยม 55,000 ที่นั่ง
เวียดนาม
มีดิญห์ สเตเดี้ยม 40,192 ที่นั่ง